วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556





ประวัติ
หมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์
             จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีคณะหมอลำที่สร้างขื่อเสียงได้รับการยอมรับทั่วภูมิภาคอีสาน โดยมีหมอลำบุญลือ หาญสุริย์ และหมอลำชวาลา หาญสุริย์ สองสามีภรรยา ได้ก่อตั้งคณะหมอลำ โดยเริ่มต้นจากการสืบทอดเจตนารมณ์ วงหมอลำ จากพ่อครูอินตา บุญทา บรมครูของหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์
         
           เดิมชื่อคณะเสียงทองบันเทิงศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ซึ่งมีลูกศิษย์คนสำคัญ เช่น คุณพ่อบุญเยี่ยม สมพืช หัวหน้าคณะเทพประสิทธิ์ศิลป์ คุณแม่ อุษา แถววิชา หัวหน้าคณะ หนึ่งในสยาม และ คุณแม่บุญถม นามวันทา หัวหน้าคณะ ประถมบันเทิงศิลป์ ต่อมาเมื่อพ่อครูอินตา บุญทาได้เสียชีวิตลง คุณพ่อบุญเยี่ยม ก็ได้ออกไปตั้งคณะ เทพประสิทธิ์ศิลป์ (อาจยุบวงไปแล้ว )คุณแม่อุษา ก็ได้ออกไปตั้งคณะเป็นของตัวเอง ใช้ชื่อว่า หนึ่งในสยาม อยู่ที่ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
         
          จนถึงปัจจุบัน  คุณแม่บุญถม ก็ได้ออกไปตั้งคณะเป็นของตัวเอง ใช้ชื่อว่า คณะประถมบันเทิงศิลป์ อยู่ที่ บ้านผือ ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น มาจนถึงปัจจุบัน ทางคุณพ่อบุญถือ คุณแม่ชวาลา หาญสุริย์ ได้ร่วมกันสืบทอดเจตนารมณ์ ของพ่อครูอินตาจัดตั้งคณะใหม่ขึ้นมาให้มีความทันสมัยมากขึ้น
         
          ประมาณเมื่อปี พ.ศ. 2500  โดยให้ชื่อว่า คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ มาจนถึงจนถึงปัจจุบัน

           
คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ เป็นวงหมอลำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งโดยเฉพาะการแสดงลำเรื่องต่อกลอน ตั้งแต่สมัยหมอลำ บุญถือ และหมอลำ ชวาลา หาญสุรีย์ เป็นพระเอกนางเอก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากหมอลำที่แสดง แสดงได้สมบทบาท มีกระแสเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลทั้ง พระเอก นางเอก และตัวแสดงประกอบ โดยได้รับการฝึกฝน ถ่ายทอดจากครูหมอลำเป็น รุ่นๆ เป็นคณะหมอลำที่สืบทอด ลำเรื่องต่อกลอนลำพื้น ทำนองขอนแก่นที่ดี คณะหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีการสืบสานทำนองกลอนลำที่เป็นเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมจากพ่อครูผู้ประสิทธิปรสาทวิชาความรู้ มีจรรยาบรรณ ในการแสดงของศิลปินหมอลำอย่างเต็มที่ และถ่ายทอดการแสดงให้แก่เยาว์ชนคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องและยาวนาน แม้จะมีกระแสวัฒนธรรมของตะวันตก หลั่งไหลทะลักเข้ามาในประเทศ แต่คณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ก็สามารถที่ผสมผสานการ        
          แสดงสมัยใหม่กับพื้นบ้านกลมกลืน จนปรากฏเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนอย่างกว้างขวาง ผลงานดังกล่าว เป็นผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวดหมอลำหมู่ และประกวดดนตรีพื้นบ้าน จากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2536 และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติสุดยอดศิลปินอีสาน 40 ปี จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2547 

           




            จากภารกิจการสืบทอดศิลปะการแสดงหมอลำ ของคณะหมอลำ รัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ทำให้คณะลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ได้รับความนิยมครองใจมหาชนมาโดยตลอด สามารถนำการศิลปะการแสดงนั้นให้ขึ้นมาทัดเทียมกับศิลปะการแสดงของสากล อย่างน่าภูมิใจ จากเกียรติคุณในการสร้างสรรค์ผลงานสืบทอดศิลปะการแสดงนั้นอย่างต่อเนื่อง และยืนยาว ก่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างกว่างขวางทั้งทางศิปะวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เป็นที่ประจักษ์ทั่วไป คณะหมอลำรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ จึงสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินพื้นบ้านอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (สืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




      


         เพื่อขวัญและกำลังใจในการสร้างผลงานทีมีประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีสานและประเทศชาติสืบไป 



        รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ 
-.โล่รางวัลการประกวดหมอลำ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดขอนแก่น 2521 
- ประกวดดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านจากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ 2536 
- โล่รางวัลเชิดชูเกียรติสุดยอดศิลปินอีสาน 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
-รางวัลชนะเลิศการประกวดหมอลำหมู่ จากกระทรวงวัฒนธรรม (รับที่ มข. )
-รางวัลชนะเลิศการประกวดหมอลำหมู่ จากกระทรวงวัฒนธรรม (รับที่ ม.ศรีนครินทรวิโรฒม์ สารคาม )
- รางวัลแชมป์หมอลำโล่พระราชทานปี 2546


ผลงานบริการสังคม  

- ได้เผยแพร่การแสดงหมอลำเรื่องลำต่อกลอนทำนองขอนแก่น ณ ประเทศฮ่องกง พ.ศ.2545 
- ลำรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ลำส่งเสริมประชาธิปไตย 


ผลงานด้านอื่น ๆ มีกระแสเสียงที่ไพเราะมีพลังก้องกังวาล สามารถลำได้ทั้งคืน สามารถแต่งกลอนลำ มีวิจารณญาณกลั่นกรองเป็นผู้มีจิตใจยึดมั่นในหลักธรรมะ 


- ให้ความช่วยเหลือสังคมทั้งสถาบันการศึกษา สถาบันทางศาสนา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด




รูปแบบเวทีการแสดง


ชุดการแสดง


ขอบคุณครับ.

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556




         











เสียงอิสาน

คณะเสียงอีสาน นำโดย นกน้อย อุไรพร
หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น
บ้านพัก : เลขที่ 555 หมู่ 17 บ้านหนองใส ตำบลหนองน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลธานี 41000
โทรศัพท์ :

ประวัติคณะเสียงอิสาน

  • ต้นปีพุทธศักราช 2518 วงดนตรี "เสียงอิสาน" นกน้อย อุไรพร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในวงการ อาวทิดหลอดทุ่มเททั้งแรงเงิน แรงกาย เพื่อผลักดันวงดนตรีของตัวเองให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน ที่เรียกว่าวงดนตรีของตัวเองนั้น ก็เพราะว่าขณะนั้นเป็นที่ทราบกันทั่วไปในวงการว่าอาวทิดหลอดกับนกน้อย อุไรพร ได้อยู่กินเป็นสามีภรรยาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว


  • แต่สิ่งที่อาวทิดหลอดคาดการณ์ไว้กลับไม่เป็นเช่นนั้น วงเสียงอิสานไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเลย งานจ้างก็มีกระท่อนกระแท่น จนต้องยกวงเดินสายและพากันกลับมาอย่างบอบช้ำ ขาดทุนยับเยิน สมาชิกภายในวงก็เริ่มหนีหาย จนเหลืออยู่ไม่กี่สิบคน เมื่อมานั่งวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถ้วนถี่แล้ว เขาจึงค้นพบจุดอ่อนของวง นั่นคือ วงเสียงอิสานเป็นวงดนตรีลูกทุ่งเพียวๆ แสดงจากสามทุ่มตีหนึ่งก็เลิก


  • ต่างจากวงหมอลำที่เล่นกันยันสว่าง และมีลำเรื่องต่อกลอนให้ผู้ชมๆ ได้ทั้งคืน จึงไม่แปลกที่หมอลำใหญ่ๆ อย่างคณะประถมบันเทิงศิลป์ จะมีงานแสดงอย่างล้นเหลือ ในขณะที่เสียงอิสานจับเจ่าเฝ้าสำนักงาน อีกหนึ่งจุดอ่อนที่ค้นพบก็คือ ขนาดของวงเสียงอิสานเล็กเกินไป มีสมาชิกในวงแค่ 40 กว่าชีวิต วงเล็กๆ แบบนี้เจ้าภาพไม่ชอบ เขาชอบจ้างคณะใหญ่ที่มีนักแสดงเป็นร้อย มีรถหลายคัน มีเวทีแสงสีเสียงใหญ่โตมโหฬาร



  • ส่วนผลงานด้านหน้าเวทีไม่ได้เรื่องจนหมาหลับก็ช่างมัน เมื่อคิดได้ดังนี้แผนการฟื้นฟูกิจการวงเสียงอิสานครั้งใหญ่จึงถูกตระเตรียมในหัวสมองของอาวทิดหลอด เขาประกาศพักวงชั่วคราวเพื่อปรับปรุงใหม่ อันดับแรกสุดคือเรียกหาหัวหน้าวง "นกน้อย อุไรพร" เข้ามาพบเพื่อรับบัญชา ""เจ้าไปหัดร้องหมอลำตั้งแต่เดี๋ยวนี้


  • เฮาสิเอ็ดวงใหม่เป็นลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ถ้าไม่เช่นนั้นเฮาสู้คณะอื่นบ่ได้"" การตัดสินใจของอาวทิดหลอดถูกต้องที่สุด เพราะหลังจากยกเครื่องปรับปรุงทีมงานการแสดงได้ไม่นานนัก วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำคณะเสียงอิสานก็ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็น


  • นกน้อย อุไรพร,ปอยฝ้าย มาลัยพร,คำมอด พรขุนเดช,น้องแป้ง ณัฐธิดา,ดาวทอง,ดาวน้อย,ดาวตลก,ดาวพระเอก เมื่อร้องจนเก่งแล้วจึงลองหัดแต่งกลอนลำร้องเอง ต่อมาก็แต่งให้นักแสดงในวงนำไปร้อง ลำเรื่องต่อกลอนของคณะเสียงอิสาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฮอยปานดำ, ฮอยปูนแดง, วงเวียนชีวิต, เงากรรม และผลงานล่าสุดวงเวียนชีวิต ตอนใต้ฟ้ากทม.,เงินคือระเจ้า ข้าวเลี้ยงชีวิตภาค1,2 ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของนกน้อย อุไรพร


  • ทั้งนี้และทั้งชื่อเสียงของคณะเสียงอิสานเริ่มขยายวงกว้างเป็นไฟลามทุ่ง ด้วยทีมงานที่ยิ่งใหญ่ขบวนคอนวอยที่ยาวเหยียด เวทีแสงสีเสียงและการแสดงอันตื่นตาตื่นใจ และรูปแบบการเวทีใหม่โดยใช้รถ6ล้อ 2 คันกางปีกออก แล้วก็จัดสเต็ปใช้ระบบไฮดรอกรสิ์ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งและผู้สนับสนุนคำ้จุนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดีมM-150,บริษัทท็อปไลน์-ไดมอนด์ของนายห้างทวีชัย จริยะเอี่ยมอุดม,ธนาคารธนชาติร่วมกับธนาคารนครหลวงไทย,ซิมม่วนซื่นทั้งปีโดยแฮปปี้ดีแทค,เชฟวี่โคโรราโดและกาแฟบ้านตอง๕

นักแสดงและนักร้องในวง
     นกน้อย อุไรพร                ปอยฝ้าย มาลัยพร         คำมอด พรขุนเดช     
     น้องแป้ง ณัฐธิดา           น้องวิ สุพิศตรา               น้องสายใย อุดมพร       
     น้องสายฟ้า                  น้องบุญหลง                น้องฟ้า                 
     ป้าหยาดรุ้ง กนกวรรณ    ป้าราตรี ดาวฮูโต          ป้าจีรวรรณ พรวิเศษ
     ป้าปานดำ ค้ำคูณ             ป้าจั๊กจั่น ดาวไพร         กบ บุญมาก           
     ป้าจันทร์เพ็ญ ศิริเทพ      ชัช                            ชาร์จ ศิริเทพ              
     เล็ก                            ใหญ่                         หนุ่ม นนทวัช         
     นำโชค มาลัยพร            ยายจื้น                       ยายแหลม
     มาริโอ้                             ยายยงค์



รางวัล
  • พระราชทานปริญญาบัตรสาขานาฏศิลป์และการละครจากสมเด็จพระโอรสาธิราช สยามกุฏราชกุมาร
  • รางวัลเพลงไทยพื้นบ้านประจำภาคอีสานยอดเยี่ยม ในเพลง วิ่งว่าว พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 7 ประจำปี 2553



รางวัล
  • ชนะเลิศการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งของสถานีวิทยุ กวส.1 จังหวัดสุรินทร์
  • ผู้ใช้ภาษาถิ่นดีเด่นประจำปี 2552
  • รางวัลเพลงไทยพื้นบ้านประจำภาคอีสานยอดเยี่ยม ในเพลง วิ่งว่าว พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 7 ประจำปี 2553
  • ผลงานบันเทิงยอดเยี่ยมประจำปี 2551 รางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยม เพลง มันต้องถอน ศิลปินเพลงลูกทุ่งฝ่ายชายยอดนิยม และ รางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยม มหานคร อวอร์ดส ครั้งที่ 6 ประจำปี 2553 รางวัลเพลงยอดนิยม พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 7 ประจำปี 2553

การแสดงโชว์



โชว์ในรูปแบบต่างๆ




โชว์อาเซียน



ชุดการแสดง







นกน้อย  อุไรพร







บ่าวท๊อบฟี๊



 น้องแป้ง  นัฐธิดา



หมอลำคณะเสียงอิสาน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ ๑
#สมาคมคนฮักหมอลำแห่งประเทศไทย